วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ระบบ Wi Fi

Wi-Fi คืออะไร?

(37)ในปี 2003 เป็นต้นไปเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาแรงแบบสุดๆตอย่างหนึ่งก็คือ WiFi ซึ่งคำถามแรกของผู้ที่ได้ยินคำนี้ก็ต้องถามเป็นเสียงเดียวกันว่าแล้วWiFi มันคืออะไรกันนะ? รู้จักแต่คำว่าไวไฟ ที่เขียนท้ายรถบรรทุกน้ำมัน

จากอดีตก่อนที่เราจะมาพูดถึงว่า Wi-Fi มันคืออะไรนั้น

เราลองมาทำความเข้าใจกันเล็กๆน้อยเกี่ยวกับเรื่องระบบ Networkสักนิดนะครับ การที่ คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องจะมาเชื่อมต่อกัน เพื่อประโยชน์ในการแชร์ ข้อมูลซึ่งกันและกันหรือเอามาแชร์ Internet เพื่อใช้งาน แบบประมาณว่า ต่อ Internet เพียงแค่เครื่องเดียว เครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายก็สามารถใช้งานInternet ได้ด้วย ซึ่งการต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันนี้ แต่เดิมนั้นเราจะใช้สายLan ต่อเข้ากับ Lan card ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเพื่อจะเชื่อมเข้าหา ซึ่งการต่อแบบใช้สายนี้มันมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก แต่จะยุ่งยากหน่อยก็ตรงที่ในบ้านเรา หรือใน office ที่เราจะเชื่อมต่อนั้น จะต้องเรียกช่างมาเดินสาย Lan เหมือนกับเดินสายไฟภายในบ้าน ซึ่งมันก็วุ่นมากทีเดียวหากเป็นบ้านที่มีคนอยู่แล้ว ต้องมานั่งรื้อข้าวของให้วุ่นวายกันไปหมดถึงปัจจุบันเหมือนกับว่าพระเจ้าเห็นใจผู้รักเทคโนโลยี จึงทำให้มีผู้คิดค้นวิธีเชื่อมต่อ Lan แบบใหม่ขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงสายให้มันวุ่นวาย แต่คราวนี้เราจะใช้คลื่นเชื่อมแทนครับ ฟังแค่นี้ก็ดูน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับด้วยระบบเทคโนโลยี Lan ไร้สาย 802.11 จึงเกิดขึ้นมาบนโลกเบี๊ยวๆใบนี้ โดยการพัฒนาจากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE)นั่นเอง เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดามาเป็น 802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งมันจะต่างกันเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก (เดี๋ยวเราค่อยมาเล่าต่ออีกทีว่ามันต่างกันอย่างไร )
Wi-Fi คืออะไรWi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์Wireless Lan หรือระบบ Networkแบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา WIFI certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา WIFI certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปากเช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDAตัวนี้มันมี WiFi ด้วยหละ! นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบNetwork แบบไร้สายได้
โดยอยู่ภายใต้มาตราฐานเทคโนโลยี802.11แล้วเลข 802.11 มันคืออะไร ซึ่งผมเชื่อว่ามันต้องเป็นคำถามต่อมาอย่างแน่นอน สำหรับเลข 802.11 นั้นก็เป็น เทคโนโลยีมาตราฐานแบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) โดยเลขหลักตัวหน้ามันจะเหมือนๆกัน แต่ความแตกต่างของเทคโนโลยีจะกำหนดด้วยตัวอักษรด้านหลัง เช่น 802.11b 802.11a


Moderateแล้วWiFi กับ Bluetooth มันเหมือนกันไหม?ผมขอบอกว่า 2 อย่างนี้มันคล้ายๆกันครับ ถึงแม้ว่า Bluetooth กับWi-Fi มันจะเป็นการติดต่อเพื่อสร้างระบบNetwork เล็กๆโดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวเข้าหากัน แต่การใช้งานของBluetooth กับ Wi-Fi นั้นมันต่างกันมากครับถึงว่า เทคโนโลยีของ Wi-Fi กับBluetooth มันจะใช้ความถี่คลื่นเดียวกันที่ 2.4GHz และ Bluetooth กับWi-Fi มันก็ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้Bluetooth เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์สองตัวเข้าหากันด้วยความถี่คลื่นที่ 2.4 GHz ซึ่งมีระยะการทำงานที่สั้นมากคือได้ประมาณ 30 ฟุตเป็นอย่างมากในที่โล่ง


จุดประสงค์ที่เขาสร้าง Bluetooth ขึ้นมาก็เพื่อมาแทนที่สายไฟที่ระเกะระกะ ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์สองตัวเข้าหากัน เช่นPalm กับ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์มือถือ กับSmall talk ข้อจำกัดของ Bluetoothนอกจากเรื่องของระยะทางที่สั้น แล้วเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็ยังต่ำกว่า Wi-Fiอีกด้วย หากเอามาใช้งานการส่งข้อมูลไม่มาก เช่น เอามาใช้ Hotsync กับเครื่อง Palm หรือ Beam file จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่อง เท่านี้คงจะไม่รู้สึกเท่าไร แต่หากจะเอา PC สองตัวมาทำระบบ Network โดยใช้ Bluetooth หละก็จะเห็นถึงความอืดอย่างชัดเจน อย่างที่ผมเคยทดสอบมา


โอนไฟล์จากPC เครื่องหนึ่งไปยัง อีกเครื่องหนึ่ง รอกันเบื่อกันไปข้างเลยครับ สรุปง่ายๆก็คือว่า Bluetooth เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Device เล็กเข้ากัน ด้วยระยะทางเพียงสั้นๆ เพื่อสร้าง Network แบบกระจุ๋มกระจิ๋มส่วนตัว ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า PAN ( Personal area network ) Wi-Fi เป็นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี 802.11ซึ่งมีข้อดีก็คือมันสามารถส่งข้อมูลแบบไร้สายได้รวดเร็ว ดังนั้นมันจึงเหมาะที่จะนำมาสร้างเครือข่ายไร้สายสำหรับการเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าหากัน หรืออาจจะเอา PDA มาเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ก็ยังได้หากPDA รุ่นนั้นๆมัน สนับสนุน Wi-Fiข้อดีอีกหลายข้อของ เทคโนโลยี 802.11 ก็พอจะเล่าให้ฟังคร่าวดังต่อไปนี้ครับ การทำงานสามารถสื่อสารได้ไกลกว่าการใช้ Bluetooth ,เป็นที่นิยมมากกว่า และมันคือ



ระบบที่มีการทำงานคล้ายกับระบบ Network แบบมีสายมากที่สุด โดยเฉพาะ เทคโนโลยี 802.11b ซึ่งมีความเร็ว 11 Mb/s อันนี้จะนิยมมากที่สุดแต่ในอนาคตก็คงจะมีการพัฒนาให้มันส่งข้อมูลได้เร็วมากขึ้นไปอีก สร้างเครือข่ายส่วนตัวใช้เองดีกว่า ( Wi-Fi ในบ้าน )แนะนำกันไปยืดยาวจนคอแห้งแล้วนะครับว่า Wireless Lan ที่มักเรียกกันติดปากว่า Wi-Fi มันคืออะไร สมัยนี้เรื่องการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เขากำลังเป็นที่นิยม เพราะเขาเชื่อกันว่าในบ้านสมัยนี้เขามักจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องดังนั้นเราก็น่าจะเอาคอมพิวเตอร์ในบ้านทั้งหมด มาต่อเชื่อมกันเพื่อแชร์ทรัพยากรร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ตหรือPrinter จะได้ช่วยกันประหยัด หรือเอาแบบ เท่ห์ๆหน่อยก็ ส่ง msn หรือ email ไปเรียก คุณพ่อ หรือคุณ แม่ที่อยู่ชั้นสองให้ลงมาทานข้าวพร้อมกัน ก็ยังได้ หรือหากบ้านไหนอยู่กันเยอะๆก็อาจจะมาเล่นเกมส์ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้แต่ยุคนี้หากจะสร้างเครือข่ายกันในบ้าน หากยังใช้แบบมีสายอยู่ก็อาจจะดูไม่ค่อยจะสะดวกเท่าไรนัก เพราะต้องเรียกช่างมาเดินสายภายในบ้าน หากเป็นบ้านที่อยู่แล้วก็ยิ่งลำบากใหญ่ ดังนั้นหากเราใช้ Wi-Fi ก็จะทำให้การสร้างเครือข่ายนั้นง่ายขึ้นครับ คล่องตัวมากทีเดียว เราอาจจะเอาNotebook ไปนั่งเล่น อินเตอร์เน็ต กลางสวนหลังบ้านก็ยังได้ สำหรับงบประมาณการสร้างเครือข่ายไร้สายแบบWi-Fi นี้ก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 6500-9000 บาทครับ อุปกรณ์ที่จำเป็นก็มี Access Point 1 ตัว +USB wireless lan card อีกสัก 2 ตัว ที่มา


ระบบการทำงาน 3G





ระบบการทำงาน 3G
หลายๆ คนคงได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆ กับคำว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 3G และเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล อีกทั้งการทำการตลาดที่ดุเดือดเพื่อแย่งชิงลูกค้า แต่หากมีคนถามเราว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G คืออะไร?





เราเองมักจะตอบกลับไปง่ายๆ ว่าก็โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไปไงล่ะครับ หลายคนๆ ก็อ่านหนังสือพิมพ์มาอธิบายบ้าง จำในนิตยสารมาบ้าง แล้วผสมผสานเล่าอธิบายกันไปตามเนื้อความที่ตนรับมา บ้างก็ตรงกันบ้างก็ไม่ตรงกัน บ้างก็ยังสับสน แต่หากเราต้องการคำตอบจริงๆ ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G นั้นแท้จริงแล้วคืออะไร มีใครนิยามเป็นทางการไว้หรือไม่และนิยามว่าอย่างไรกันนะ เผื่อเอาไว้ใช้อ้างอิง โดยเฉพาะคนที่ต้องการตัวหนังสือที่ชัดเจนมายืนยัน ผมเลยนำมาเล่าเป็นเรื่องราวเชิงวิชาการแบบภาษาชาวบ้านว่า









คำตอบก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือ เรียกย่อว่า 3G นั้น ITU (International Telecommunication Union) หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางหลักเกณฑ์ในบริหารการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ได้มีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์การบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมของแต่ละประเทศเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ITU ได้ให้มีการกำหนดมาตรฐานสิ่งที่เรียกว่า เครื่องโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย (อุปกรณ์โทรคมนาคมในยุคต่อไปอาจจะใช้รวมกันหลายชนิด ทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือดาวเทียม เป็นต้น) เรียกรวมกันว่ามาตรฐาน IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000)
ซึ่ง ITU ได้กำหนดความหมายของมาตรฐานดังกล่าวในเชิง ย่านความถี่ (Spectrum Band) และมาตรฐานการเชื่อมต่อทางเทคนิค (Technical Standard) อธิบายรายละเอียดยาวไปเดี๋ยวจะจับประเด็นไม่ได้ผมสรุปเลยดีกว่าว่า เจ้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามมันมีลักษณะทางเทคโนโลยีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง นิยาม (Definition) โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า • “ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเตอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ • “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service)” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ








• อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว > มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที ในทุกสภาวะ > ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่ > สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่ นั่นแหละครับคือนิยามที่ ITU ให้ความหมายไว้ อ้อยังมีอีกเรื่องก็คือ ITU ได้กำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อความถี่วิทยุ ไว้ 5 มาตรฐานด้วยกันครับ ที่จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานนั้นก็เพราะว่า ปัจจุบันผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลายๆ ค่ายต่างพัฒนาได้รวดเร็วและหลากหลายวิธีการ ดังนั้นหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานผลเสียอาจจะไปตกที่ผู้บริโภคเนื่องจากไม่สามารถใช้สินค้า (โทรศัพท์) เชื่อมต่อกันได้ และปัญหาที่สำคัญคือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าเรื่องดีกว่ามาตรฐานการเชื่อมต่อคลื่นความถี่ของ IMT-2000 มีดังนี้ครับ
มาตรฐานการเชื่อมต่อทางคลื่นวิทยุตามมาตรฐาน IMT-2000 ซึ่งระบุไว้ใน Recommendation ITU-R M.1457 ประกอบไปด้วยห้ามาตรฐานดังนี้ครับ


1. WCDMA 2. CDMA2000 3. TD-SCDMA 4. EDGE 5. DECT ในโลกโทรคมนาคมยุคต่อไป หรือโดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไป
ความหมายหรือนิยามการทำงาน หรือเทคโนโลยี เขาจะเน้นไปที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลครับ เช่น สามจี เหรอ หมายถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วได้ตั้งแต่ 144 kbps ถึง 2 Mbps ประมาณนั้นครับ หรือ เทคโนโลยี GPRS มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 144 kbps และเทคโนโลยี EDGE มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 384 kbps เป็นต้นครับ มีผู้รู้หลายๆ ท่านในวงการโทรคมนาคมถกเถียงกันว่า EDGE ถือเป็น สามจีแล้วนะ หรือบ้างก็ว่า GPRS ก็ต้องเป็นสามจีด้วยสิ เพราะมีความเร็วเท่ากับนิยาม ITM-200 ของ ITU กำหนดไว้ และสำนักงาน กทช. เองก็ได้ให้นิยาม IMT-2000 ไว้เช่นเดียวกับที่ผมนำมาอธิบายให้ฟังข้างต้นแล้ว(นิยาม) ในเอกสานประกอบการทำประชาพิจารณ์แบบเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ที่ผ่านมา ผมเลยคิดเอาเองเป็นความเห็นส่วนตัวว่า บ้านเมืองเรานักกฎหมายเค้าดูตามตัวหนังสือเลยครับยืนยันชัดเจน ถ้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถทำงานได้ตาม “นิยาม” ข้างต้นทุกข้อแล้ว ไม่ถือว่าเป็น สามจี ครับ ซึ่งบางระบบอาจจะทำได้บางข้อเท่านั้น แต่ในความจริงแล้ว ในอดีตเราไม่เคยมีใครนิยามไว้เป็นทางการหรอกครับ ว่าอะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 อะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่2 หรืออะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2.5 ล้วนซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจตามบทความ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก นั้นเขาก็เปรียบให้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ อนาลอก (Analog) ครับ อย่างเช่น (NMT) Nordic Mobile Telephone ในบ้านเราในอดีตก็มีย่าน 470 ย่าน 800 ย่าน 900 ประมาณนั้นครับ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาระบบขึ้นที่เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง ซึ่งก็เปลี่ยนจากสัญญาณ อนาลอก มาเป็นสัญญาณ ดิจิตอล ครับ หรือระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อาทิเช่น ระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) เป็นต้นครับ ถ้าจำไม่ผิดระบบดิจิตอล เซลลูล่าร์ ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันน่าจะมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 64 kbps พูดให้เข้าใจง่ายว่าเหมือนเราต่อ อินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์บ้านธรรมดาเท่านั้นเอง และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operators) ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเสริมปริทธิภาพการทำงานของระบบให้รวดเร็วขึ้น จึงพัฒนาให้ระบบมีความเร็วขึ้นเป็นเทคโนโลยี GPRS และเทคโนโลยี EDGE ตามลำดับ อย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้นว่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆ ค่าย ต่างคนต่างพัฒนา การใช้งานอาจจะส่งผลกระทบถึงผู้บริโภค เช่น เรียกข้ามเครือข่ายไม่ได้ ดังนั้นจึงพยายามบีบให้เหลือมาตรฐานทางเทคโนโลยีน้อยที่สุด ซึ่งก็ยังมีถึง 5 มาตรฐานตาม IMT-2000 ดังที่กล่าวมาแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่าจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายไปยัง สามจี อย่างไร ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Evolution Paths
ซึ่งเข้าใจได้ง่ายจากภาพที่ ITU ให้ไว้เพื่อการศึกษา เช่นจากเครือข่าย GSM อย่างไรก็ต้องผ่านการปรับปรุงเครือข่ายให้มีเทคโนโลยี EDGE ก่อนจึงจะสามารถให้บริการ WCDMA ได้ในอนาคต ส่วนผู้ที่ให้บริการระบบ CDMA one ในปัจจุบันสามารถพัฒนาเครือข่ายไปเป็น CDMA20001X ได้เลย. ที่มาจาก http://www.manager.co.th/


ระบบ 3G คืออะไร / เทคโนโลยี 3G หมายถึง / ความเร็ว 3G
เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไร
ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น
สำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+
HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps
สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า
ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้
คลื่นความถี่ ( band ) 850จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ Trueคลื่นความถี่ ( band ) 2100จะถูกพัฒนาโดย AISคลื่นความถี่ ( band ) 1900ยังไม่แน่ชัดว่าจะถูกปล่อยออกโดยบริษัทไหน
ดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น

ข้อมูลจากhttp://www.manager.co.th/
เทคโนโลยี 3G คืออะไร3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้นลักษณะการทำงานของ 3Gเมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆเทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไรจากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว“Always On” คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่ายอุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3Gสำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

การใช้ Internet ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ


เชื่อมต่อ Internet บน PC ผ่านทาง Bluetooth โดยใช้ โทรศัพท์เป็น Modem
กระผมเชื่อว่า ทุกๆ ท่านที่กำลังอ่านคอลัมน์นี้อยู่ ต้องเคยเล่นเชื่อมต่อกับโลกไร้สายอย่าง Internet แน่นอน ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้น จะเชื่อมต่อ Internet กับโทรศัพท์บ้าน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีเป็น High speed internet หรือที่เรียกติดปากว่า ADSL จากค่ายต่างๆ ให้เราๆ ท่านๆ ได้เลือกใช้กันอย่างจุใจ แต่การใช้ Internet แต่ละครั้งนั้น มันมีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าต้องต่อกับโทรศัพท์บ้านเท่านั้น อีกทั้งถ้าเป็น High speed internet ด้วยแล้วเนี่ย จะได้แค่บางคู่สายเท่านั้นเอง แล้วเมื่อเราต้องการที่จะใช้ Internet กับคอมพิวเตอร์ที่ไม่มี Modem ด้วยแล้วนี่เลิกพูดถึงกันไปเลย หมดสิทธิ์แน่นอน แต่ทว่า ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีได้ก้าวไกลมากขึ้น โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Smart Phone นั้นรองรับการเชื่อมต่อกับ Bluetooth เกือบทั้งหมดอีกทั้งยังมี Modem ในตัวอีกด้วย ทีนี้เราก็จะสามารถเชื่อมต่อกับ Internet ในคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ ได้ เพียงแค่มี Bluetooth port ต่อกับคอมพิวเตอร์ กับโทรศัพท์มือถือที่มี Modem ในตัวและรองรับการเชื่อมต่อกับ Bluetooth เท่านั้น โดยที่จะเชื่อมต่อผ่านคลื่น GPRS นั่นเอง โดยที่การใช้โทรศัพท์มือถือต่อ Modem ผ่าน Bluetooth นั้นจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ใช้ Notebook เดินทางตลอดเวลา และจำเป็นต้องใช้ Internet บ่อยๆความต้องการขั้นพื้นฐาน1. คอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook ระบบปฏิบัติการ Windows XP 1 เครื่อง2. Bluetooth USB Port 1 อัน สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยที่บทความนี้ ใช้ Bluetooh USB Port ยี่ห้อ Billionton Class 1 (สีดำๆ มีเสา ระยะรับส่งที่ 100 เมตร)3. โทรศัพท์มือถือที่รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth และมี Modem ในตัวขั้นตอนการติดตั้ง
1: Add a Bluetooth Deviceขั้นแรก ให้เปิด Bluetooth ที่โทรศัพท์มือถือของเราก่อน แล้วให้ต่อ Bluetooth USB Port เข้ากับคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะมี icon ของ Bluetooth สีน้ำเงินขึ้นมา จากนั้นให้คลิกขวาที่ icon นั้นขึ้นมา เลือก Add a Bluetooth Device
2: set up and ready to be foundเมื่อเลือก Add a Bluetooth Device ขึ้นมาแล้ว จะมีหน้าจอดังแสดง




ในรูปที่ 2 ให้ใส่เครื่องหมายถูกลงในช่องสี่เหลี่ยม จากนั้นกด Next เพื่อค้นหาอุปกรณ์ Bluetooth อื่นๆ
3: ค้นหาอุปกรณ์ Bluetoothหลังจากกดปุ่ม “Next” ตามรูปที่2 แล้วจะเป็นการค้นหาอุปกรณ์ Bluetooth ต่างๆ ขึ้นมา จากนั้นให้เลือกที่โทรศัพท์เครื่องที่ต้องการจะใช้เป็น Modem ในที่นี้ผมจะเชื่อมต่อกับ Nokia 3230 แล้วกด Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป
4: Choose a passkeyขั้นตอนต่อมา ให้เราเลือกที่ Choose a passkey for me เพื่อกำหนด passkey ของโทรศัพท์มือถือ จากนั้นให้กด Next
5: Passkey ที่ได้
6: ใส่ Passkeyให้ใส่ Passkey หรือตัวเลขที่ได้จากรูปที่ 5 ลงในโทรศัพท์มือถือของเราดังแสดงในรูปที่ 6 แล้วกด OK
7: Found new Hardware
8: Finishเมื่อใส่ Passkey เสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่คอมพิวเตอร์จะแสดงขึ้นมาว่า Found new Hardware นั่นคือคอมพิวเตอร์ได้เชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเรียบร้อยแล้ว ให้กด Finish เพื่อสิ้นสุดขั้นตอนการตั้งค่าเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ กับโทรศัพท์มือถือ
รูปที่9: Connectivity
10: Paired devices
11: Set as authorised
12: Confirmation
รูปที่13: เสร็จสิ้นการตั้งค่า Authorisedขั้นตอนถัดมา ให้เราเลือกไปที่ Bluetooth ในโฟลเดอร์ Connectivity ของโทรศัพท์มือถือ เข้าไปที่ Pair Devices กด Options เลือก Set as authorised จากนั้นเครื่องจะถามว่า การเชื่อมต่อในครั้งต่อไปกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ จะติดต่อกันเองโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องยืนยันการเชื่อต่อ ในที่นี้ให้เลือก Yes
14: Network Connections
15: New Connection…หลังจากที่เชื่อมต่อ Bluetooth กับคอมพิวเตอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปที่ Control Panel เลือก Network Connections แล้วกดที่ File เลือก New Connection... เพื่อสร้างการเชื่อมต่อชุดใหม่ขึ้นมา
16: New Connection Wizardเมื่อกด New Connection… ขึ้นมาแล้ว ขั้นตอนถัดมาจะเป็นการตั้งค่าต่างๆ ในหน้าจอนี้ให้กด Next>
17: Network Connection Typeหลังจากนั้น Connection Wizard จะถามว่า ต้องการจะใช้การเชื่อมต่อแบบไหน ให้เราเลือกไปที่ Connect to the Internet แล้วกด Next>
18: Getting Readyถัดมา จะเป็นการเลือกรูปแบบการตั้งค่า ในที่นี้ให้เลือกแบบการตั้งค่าด้วยตนเอง ในที่นี้ให้เลือกไปที่ Set up my connection manually แล้วกด Next> เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป
19: Internet Connectionถัดมา ทางโปรแกรมจะถามว่า ต้องการตั้งค่าการใช้งาน Internet แบบใด ให้เลือกไปที่ Connect using a dial-up modem แล้วกด Next> เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป
20: Connection nameหลังจากที่เลือกรูปแบบการใช้งาน Internet ผ่าน Modem เรียบร้อยแล้ว ให้ใส่ชื่อของการเชื่อมต่อนั้น โดยใส่ชื่ออะไรไปก็ได้ ให้จำได้ง่าย จากนั้นกด Next>
ูปที่21: Phone Number to Dialขั้นตอนถัดมา จะเป็นการใส่เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้เชื่อมต่อกับ Internet โดย




ส่วนนี้ เครือข่ายหลังของโทรศัพท์มือถือที่รองรับ GPRS นั้น (AIS, DTAC และ Orange) ให้ใส่หมายเลข ดังนี้*99***1# หรือ *99***# หรือ *99# โดยที่สลับกันได้ได้หมดทุกหมายเลข ทุกเครือข่าย จากนั้นให้กด Next> เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป
22: Internet Account Informationในส่วนนี้ ทางเครือข่าย AIS และ DTAC ไม่ต้องใส่ค่าใดๆ ลงไป แต่เครือข่าย Orange นั้น ให้ใส่คำว่า orange (ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กทั้งหมด) ลงไปทั้ง 3 ช่อง จากนั้นให้กด Next> เพื่อยืนยันการตั้งค่า
23: Finish
24: Icon ของการเชื่อมต่อผ่าน Modemหลังจากนั้น ให้ทำเครื่องหมายถูกด้านหน้าช่อง Add a shortcut to this connection to my desktop เพื่อให้มี Icon ของการเชื่อมต่อแสดงขึ้นมาบนหน้าจอ Desktop ได้ หรือถ้าไม่ทำเครื่องหมายถูกด้านหน้า จะไม่มี Icon แสดงขึ้นมา จากนั้นให้กด Finish เป็นอันสิ้นสุดการตั้งค่า Modem ของการเชื่อมต่อ Internet
25: ตั้งค่าเพิ่มเติม
26: Networking
27: ตั้งค่า DNS Serverเมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีหน้าต่างดังรูปที่ 25 แสดงขึ้นมา ให้กดเข้าไปที่ Properties แล้วเลือกไปที่แถบ Networking จากนั้นให้เลื่อนแถบสีน้ำเงินไปยัง Internet Protocol (TCP/IP) แล้วกด Properties ขึ้นมา ที่แถบด้านบนให้เลือกไปยัง “Obtain an IP address automatically” ล้านล่างนั้น จะต่างกัน โดยที่สำหรับเครือข่ายของ AIS และ Orange ให้เลือกไปที่ “Obtain DNS server address automatically” ส่วนของ DTAC นั้นให้เลือกที่ “Use the following DNS server addresses:” แล้วป้อนค่าลงไปดังแสดงในรูปที่ 27 จากนั้นให้กด OK เพื่อยืนยันการตั้งค่า
28: Control Panel
29: Phone and Modem Options
30: Edit Locationขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นการตั้งค่าเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ โดยให้เข้าไปที่ Control Panel อีกรอบ เลือกที่ Icon ของ Phone and Modem Options ขึ้นมา แล้วกด New… ในกรณีที่ยังไม่มีการตั้งค่าก่อนหน้านี้ หรือกด Edit… เพื่อแก้ไขค่าเดิม โดยที่ช่องด้านบนให้ใส่ชื่อที่จำได้ง่าย เลือก Country/region เป็น Thailand ส่วน Area Code เป็นอะไรก็ได้ และเบอร์โทรศัพท์นั้น ให้เป็นเบอร์เดียวกันกับรูปที่ 21 ที่ใส่ลงไป แล้วกด OK ออกมา
31: Modems
32: Extras Settingsหลังจากที่กด OK ออกมาจากการตั้งค่าในส่วนของ Edit Location แล้ว ให้กดที่แถบ Modems ด้านบน จากนั้นเลือกไปที่ Standard Modem over Bluetooth link อันที่มี Port แสดงขึ้นมา ดังตัวอย่างในรูปที่ 31 นั้นจะมี Port COM18 แสดงขึ้นมา ให้เลือกที่อันนั้น แล้วกด Properties เลื่อนไปยังแถบ Advanced ในช่องของ Extra initialization commands: ให้ใส่ดังนี้สำหรับเครือข่าย AIS ให้ใส่ว่า +cgdcont=1,"IP","internet"สำหรับเครือข่าย DTAC ให้ใส่ว่า at+cgdcont=1,"IP",www.dtac.co.thสำหรับเครือข่าย Orange ให้ใส่ว่า +cgdcont=1,"IP","internet"แล้วกด OK ออกมาเพื่อยืนยันการตั้งค่าต่างๆ เป็นอันเสร็จสิ้น
รูปที่33: Connect to the internet


34: Dialing
35: Verifying username and password
รูปที่36: Connected

37: Bluetooth Connected
38: Statusหลังจากนั้น ลองเชื่อมต่อกับ Internet ดู จากรูปที่ 33 ไม่ต้องใส่ User name และ Password ให้กด Dial ได้เลย จากนั้นโทรศัพท์มือถือจะเชื่อมต่อกับ Internet ผ่านคลื่น Bluetooth โดยใช้สัญญาณ GPRS จะเห็นว่า ที่หน้าจอโทรศัพท์ของเรานั้นมีสัญลักษณ์การเชื่อมต่อ GPRS และ Bluetooth ขึ้นมาดังรูปที่ 37 และสามารถกดดูสถานะต่างๆ ในการเชื่อมต่อได้เหมือนกับต่อ Modem บ้านได้เลยล่ะสรุปการใช้โทรศัพท์มือถือต่อ Modem ผ่าน Bluetooth นี้สามารถใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือที่มี Modem และรองรับ Bluetooth ได้ทุกรุ่น โดยใช้วิธีเดียวกันนี้ประยุกต์ใช้กับ Infrared Port แทนก็ได้ โดยมีวิธีเช่นเดียวกันกับข้างต้น วิธีการดังกล่าว สามารถอธิบายได้เป็นขั้นตอนสั้นๆ ดังนี้1. Pair Bluetooth ระหว่างคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ2. สร้าง New Connection ใน Control Panel พร้อมตั้งค่าต่างๆ3. ใส่ค่า DNS Server ในกรณีที่ใช้ DTAC4. ตั้งค่า Advanced ใน Phone and Modem Options5. เขื่อมต่อ internet พอแล้วเหนื่อย..

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ระบบ ADSL


ความรู้เกี่ยวกับ ADSL เบื้องต้น





ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
• งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต

• การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL




• ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก • ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด

• ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
• ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน

• สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี้

• Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที • G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K


• ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ อัตราความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาทีADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับขีดความสามารถของ ADSLเทคโนโลยีของ ADSL เป็นแบบ Asymmetric มันจะให้ Bandwidth การทำงานที่ Downstream จากผู้ให้บริการ ADSL ไปยังผู้รับบริการสูงกว่า Upstream ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ไปยังผู้ให้บริการ